วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการปล่อยโคมลอย

วิธีปล่อย เมื่อทำเสร็จแล้วก็ต้องรอฤกษ์ในการปล่อย จนกระทั่งได้เวลาเหมาะแล้วก็จะช่วยกัน บ้างก็ถือไม้ค้ำยันไว้ เพื่อให้โคมลอยทรงตัวได้ อีกพวกหนึ่งก็เอาเชื้อเพลิงซึ่งจะใช้ผ้าชุบน้ำมันยางเผาหรือใช้ชัน ซึ่งเรียกกันว่า ขี้ขะย้า เผาเพื่อให้เกิดควัน นอกนั้นอยู่รอบๆ โดยเฉพาะพวกเด็กๆ จะมาห้อมล้อมดูด้วยความสนใจ บางทีก็จะมีกองเชียร์คือ กลองซิ่งม่องตีกันอย่างสนุกสนาน เมื่ออัดควันเข้าเต็มที่แล้วก็จะปล่อยขึ้นไปก็จะมีเสียงประทัดดังสนั่นหวั่นไหว กลองเชียร์ก็เร่งเร้าทำนองกลองให้ตื่นเต้นเร้าใจ

วัตถุประสงค์ การทำโคมลอย

ในการปล่อยโคมลอยโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะมีความเชื่อกันคือ
1. เพื่อทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาสังฆบูชา
2. เพื่อให้โคมนั้นช่วยนำเอาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติต่างๆ ให้หายไปจากหมู่บ้าน
3. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
      การทำโคมลอย เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน ความมีจิตใจที่เพียบไปด้วยกุศลธรรม ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็ได้เริ่มนำเอาโคมลอยมาปล่อยในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น งานล่องสะเปา งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖0 ปี

ประวัติโคมยี่เป็ง

     การลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมทำกัน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
     
โคมลอยนั้น ในอดีตถือเป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงออกถึงการเป็นพุทธบูชา ที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธศาสนา และยังมีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยนั้นจะ ให้หมดเคราะห์หมดโศรก และช่วยส่งเสริมค้ำจุนดวงชะตาชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง สูงขึ้นไป เหมือนโคมลอยที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ปัจจุบันนั้นโคมลอยได้ถูกนำมาเป็น เครื่องใช้ที่ใช้ปล่อยในงานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้ัองกับพุทธศาสนา งานบุญสำคัญต่างๆ หรือแม้แต่โอกาสสำคัญต่างๆ จากประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วไป เนื่องจากความงดงามของแสงเทียนของโคมลอยที่ส่องสว่างในยามค่ำคืนบน ท้องฟ้านั้นสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็น และผู้ปล่อยจนทำให้โคมลอย เป็นศิลปะวัฒนธรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

วิธีทำโคมลอย

เริ่มจากต้องเหลาไม้ไผ่ทำเป็นวงๆ เตรียมไว้สำหรับทำปากโคมลอย

นำกระดาษสาสีขาวแผ่นบางๆ มาทากาวต่อกันจำนวน 4 แผ่น    
 นำไปตากแดดให้กาวแห้ง ถ้ายังไม่นำไปปล่อยหรือไปลอย ก็พับเก็บ
นำม้วนกระดาษทิชชู่มาตัดเป็นท่อนเล็กๆ ชุบกับเทียนขี้ผึ้งและผึ่งไว้ให้แห้งสนิท
          นำมาผูกติดที่ปากโคมลอย เมื่อเราจะปล่อยก็จุดไฟให้ควันเป็นตัวดันให้โคมลอยขึ้น 
    

ประวัติความเป็นมา

การลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมทำกัน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
    
     สำหรับการลอยกระทงตามสายน้ำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตามหลักฐานที่บันทึกเอาไว้ว่า นางนพมาศ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยได้คิดทำกระทงรูปดอกบัวและรูปต่าง ๆ ถวาย พระร่วง ทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหลใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนด นักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึง สมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงามมีการประกวดประขันกัน
               
     ลอยโคมลงน้ำ และการ ลอยพระประทีป ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ถือเป็นประเพณีสำคัญประจำเดือนสิบสอง (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) ในยุค กรุงรัตน-โกสินทร์ตอนต้น
                        ในเชียงใหม่ ภาคเหนือของไทย ชาวไทย (ล้านนา) ตลอดฤดูกาลจะใช้โคมลอยในพิธีเฉลิมฉลองทางศาสนา และโอกาสพิเศษอื่นๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งเทศการลอยกระทง หรือเทศการโคมยี่เป็งซึ่งเป็นเทศกาลที่คนหนุ่มสาวและคู่รักไปลอยกระทงด้วยกันที่ริมแม่น้ำ และปล่อย โคมลอยด้วยกัน โดยปกติแล้วงานนี้จะจัดขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสิบสองตามเดือนจันทรคติตามปฏิทินพุทธศาสนา ซึ่งปกติ แล้วก็คือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือว่าเป็นการให้โชคลาภในการลอยกระทงและปล่อยโคมลอย โดยเฉพาะชนชาวพุทธที่มี ความเชื่อว่า มัน เป็นสัญลักษณ์ของการขจัดปัญหาและความทุกข์กังวลให้ล่องลอยไป มันเป็นประเพณีในการให้โคมกับวัดและพระภิกษุ เนื่องจากว่าผู้ให้ เชื่อว่าพวกเขาจะได้รับความสว่างความเห็นแจ้งในชีวิตกลับมาเฉกเช่นเดียวกับเปลวไฟในโคมที่เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา แสงสว่างจาก โคมจะนำไปสู่ เส้นทางที่ถูกต้อง
ประวัติของโคมลอยนั้นต้องนับย้อนหลังไปเป็นหลายร้อยปี มันสืบเนื่องมาจากการที่กองทัพทหารใช้พวกมันเป็นเครื่องมือในการให้สัญญาณ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการดัดแปลงนำไปใช้ในการขอพรจากสวรรค์โดยประชาชนทั่วไป

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโคมลอย

กระดาษฟางข้าวเคลือบน้ำมัน โคมลอย (โคมไฟ, บอลลูนไฟ หรือที่รู้จักกันดีว่าในบอลลูนทรงยูเอฟโอ) ในสมัยก่อน ทำจากกระดาษฟาง ข้าวชุบน้ำมันยึดติดกับโครงไม้ไผ่ซึ่งจะมีชุดคบเพลิงเป็นเทียนไขกระดาษสาอเนกประสงค์ ปัจจุบันนี้ โคมลอยได้เปลี่ยนมาทำจากกระดาษสา เนื่องจากความอเนกประสงค์ของมันและสามารถหาได้ง่าย จุดไฟ เมื่อมีการจุด ไฟที่คบเพลิงของโคมลอย ความร้อนที่เกิดขึ้นจากชุดเชื้อเพลิงจะทำให้เกิดการลอยตัวขึ้น (เช่นเดียวกับบอลลูน ที่อาศัย อากาศร้อน) และทำให้โคมลอย ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า โคมลอยและเชื้อเพลิงมีหลายส ีและหลายขนาด ช่วงเวลาที่ลอย อยู่ในอากาศของโคมลอยขึ้นอยู่กับขนาดของมัน, สภาพอากาศ และการ จำกัดระดับความสูงตาม กฎหมายของแต่ละ ประเทศและเมื่อเชื้อเพลิงของโคมลอยหมดลง มันก็จะค่อยๆลอยลงมาสู่พื้นโลก

ประวัติ และที่มา โคมลอย ทำไมต้องลอยโคม


โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง
โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรื่อนไม่ได้ใช้ลอย
โดยโคมที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่นใส่ประทัด ควันสี เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย วิธีการปล่อย จะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย
ส่วนโคมลอย ที่ใช้ลอยกลางคืน นิยมใช้กระดาษสีขาว เนื่องจากจะโปร่งแสงเมื่อลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว ขนาดก็จะย่อมกว่าโคมลอยกลางวัน วิธีการปล่อยจะใช้เชื้อไฟ หรือขี้ไต้ จุดเพื่อให้ความร้อนส่งโคมลอยขึ้นบนฟ้า จะมีการเพิ่มเติมดอกไม้ไฟน้ำตก ดาวตก ประทัด เพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย
กุศโลบายของการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมทั้งเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม สร้างความสามัคคี และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย