วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติโคมยี่เป็ง

     การลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมทำกัน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
     
โคมลอยนั้น ในอดีตถือเป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงออกถึงการเป็นพุทธบูชา ที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธศาสนา และยังมีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยนั้นจะ ให้หมดเคราะห์หมดโศรก และช่วยส่งเสริมค้ำจุนดวงชะตาชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง สูงขึ้นไป เหมือนโคมลอยที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ปัจจุบันนั้นโคมลอยได้ถูกนำมาเป็น เครื่องใช้ที่ใช้ปล่อยในงานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้ัองกับพุทธศาสนา งานบุญสำคัญต่างๆ หรือแม้แต่โอกาสสำคัญต่างๆ จากประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วไป เนื่องจากความงดงามของแสงเทียนของโคมลอยที่ส่องสว่างในยามค่ำคืนบน ท้องฟ้านั้นสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็น และผู้ปล่อยจนทำให้โคมลอย เป็นศิลปะวัฒนธรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น